วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบ

1. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ซากพืชซากสัตว์ที่ถูกกดทับอยู่ใต้เปลือกโลกที่มีอุณหภูมิและความดันสูงเป็นเวลานานจะเกิดเป็น
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ข. น้ำมันดิบจะถูกกักเก็บอยู่ใต้พื้นผิวโลกในชั้นหินดินดาน ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายกระทะรองรับไว้
ค. การสำรวจแหล่งปิ โตรเลียมเบื้องต้น คือการศึกษาลักษณะของหินใต้พื้นโลก
ง. ในประเทศไทยพบว่าแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติและแหล่งผลิตน้ำมันดิบเป็นแหล่งเดียวกัน
ข้อใดถูก
1. ก และ ข 2. ก และ ค 3. ข และ ง 4. ค และ ง


2.ในการกลั่นน้ำมันดิบ ผู้ประกอบการจะใช้การกลั่นลำดับส่วนแทนที่จะเป็นการกลั่นแบบธรรมดา ข้อใดคือเหตุผลหลัก
1) ในน้ำมันดิบมีสารที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกัน จึงแยกด้วยวิธีการกลั่นแบบธรรมดาไม่ได้
2) การกลั่นแบบธรรมดาใช้เชื้อเพลิงมากกว่าการกลั่นลำดับส่วน
3) การกลั่นแบบธรรมดาจะได้ปรอทและโลหะหนักออกมาด้วย
4) การกลั่นลำดับส่วนจะไม่เกิดเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์


3. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
1) มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล
2) เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ละลายน้ำได้
3) มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ
4) ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนน้อยกว่า 5 อะตอม


4. สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันปิ โตรเลียม เมื่อเรียงลำดับจากจุดเดือดต่ำไปสูง ข้อใดถูก
1) ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด
2) ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล
3) ก๊าซหุงต้ม น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล
4) น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน ก๊าซหุงต้ม


5. ด้วยเหตุผลข้อใดต่อไปนี้จึงทำให้น้ำมันเบนซินมีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำมันดีเซล
1) น้ำมันเบนซินมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลน้อยกว่าน้ำมันดีเซล
2) น้ำมันเบนซินมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลมากกว่าน้ำมันดีเซล
3) น้ำมันเบนซินมีจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลน้อยกว่าน้ำมันดีเซล
4) น้ำมันเบนซินมีจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลมากกว่าน้ำมันดีเซล


6. น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
ก. ไอโซออกเทน 93 % เฮปเทน 7 % โดยมวล
ข. ไอโซออกเทน 93 % เตตระเอทิลเลด 7 % โดยมวล
ค. ไอโซออกเทน 90 % เตตระเอทิลเลด 10 % โดยมวล
ง. ไอโซออกเทน 90 % เฮปเทน 10 % โดยมวล
มลพิษจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นตามลำดับดังข้อใด
1. ข < ค < ก < ง 2. ข < ก < ค < ง 3. ก < ข < ง < ค 4. ก < ง < ข < ค

7.น้ำมันดีเซลที่มีเลขซีเทนเท่ากับ 55 หมายความว่าอย่างไร

1. ประกอบด้วยซีเทน 55 % และเบนซีน 45 %

2. น้ำมันดีเซลที่เติม MTBE ลงไป 45 %

3. น้ำมันที่มีสมบัติในการเผาไหม้เหมือนกับมีแอลฟาเมทิลแนฟทาลีน 55 %

4. น้ำมันที่มีสมบัติในการเผาไหม้เหมือนกับน้ำมันดีเซลที่มี CH3(CH2)14CH3 55 %

8.แก๊สหุงต้มในครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นแก๊สบิวเทน เมื่ออยู่ในถังอยู่ในสถานะใด เพราะเหตุใด

1) ของเหลว เพราะเพิ่มความดัน

2) ของเหลว เพราะลดอุณหภูมิ

3) ของเหลว เพราะเพิ่มอุณหภูมิ

4) แก๊ส เพราะอุณหภูมิสูง

9.การใช้ก๊าซหุงต้มเพื่อให้ได้ความร้อนสูงที่สุดควรปรับเปลวไฟให้เป็นสีอะไร

1. สีแดง

2. สีเหลือง

3. สีน้ำเงิน

4. สีเขียวอมเหลือง

10.ข้อใดถูก

ก. ก๊าซหุงต้มจัดเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะอากาศ

ข. ก๊าซอะเซติลีนเมื่อเผาไหม้ในอากาศให้ความร้อนสูงใช้เชื่อมโลหะได้

ค. ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีจำนวนคาร์บอนมากกว่า 4 มีสภาพเป็นของเหลวภายใต้ความดันบรรยากาศปกติ ง. เชื้อเพลิงที่เผาไหม้แล้วให้เปลวไฟสีน้ำเงินจะให้ความร้อนสูงกว่าเชื้อเพลิงทที่ให้เปลวไฟสีเหลือง

1. ก ง

2. ข ค

3. ค ง

4. ง ก

11.พิจารณาข้อความต่อไปนี้

ก. LPG เป็นแก๊สหุงต้มและสามารถปรับใช้แทนน้ำมันเบนซินได้

ข. เลขออกเทนใช้บอกคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ส่วนเลขซีเทนนใช้บอกคุณภาพของน้ำมันดีเซล

ค. แก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมเมทานอล (แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง) กับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน1:9

ง. MTBE เป็นสารที่เติมลงในน้ำมันเบนซินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้และเรียกว่าน้ำมันไร้สารตะกั่ว ข้อใดถูก

1. ก. และ ข. เท่านั้น

2. ค. และ ง.

3. ก. ข. และ ค.

4. ก. ข. และ ง.

12.ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ไม่ควรนำเอาหินน้ำมันไปใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรง

1) ติดไฟยาก

2) ให้ค่าความร้อนต่ำ

3) ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ

4) กากหินน้ำมันที่เหลือนำมากลั่นน้ำมันอีกไม่ได้

13.พิจารณาข้อความต่อไปนี้

ก. แก๊สโซฮอล์เป็นสารผสมระหว่างเอทานอลและน้ำมันเบนซิน

ข. แก๊สหุงต้มหรือ LPG เป็นแก๊สผสมระหว่างโพรเพนและบิวเทน

ค. แก๊สธรรมชาติจัดเป็นพลังงานสะอาดเพราะสามารถเกิดการเผาไหม้ได้สมบูรณ์ ข้อใดถูก

1. ก และ ข เท่านั้น

2. ก และ ค เท่านั้น

3. ข และ ค เท่านั้น

4. ก ข และ ค

ที่มา

http://www.trueplookpanya.com/
http://www.find-docs.com/

ปิโตรเลียม

ปิโตรเลียม มาจากคำในภาษาละติน 2 คำ คือ เพตรา แปลว่า หิน และ โอเลียม ซึ่งแปลว่า น้ำมัน รวมความแล้ว หมายถึง น้ำมันที่ได้จากหิน
ตามนิยาม ปิโตรเลียม หมายถึง สารไฮโดรคาร์บอน (CH) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอน (C) และ ไฮโดรเจน (H) โดยอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่น เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ปนอยู่ด้วย ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้ความร้อน และความกดดันของสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมนั้นถูกกักเก็บ ก็มีส่วนในการกำหนดสถานะของปิโตรเลียม
ปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะที่สำคัญได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันดิบ (Oil) และ ก๊าซธรรมชาติ ( Natural Gases) สถานะตามธรรมชาติ น้ำมันดิบเป็น ของเหลว ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนชนิดระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ ที่เหลือเป็นสารกำมะถัน ไนโตรเจน และสารประกอบออกไซด์อื่น
น้ำมันดิบแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามคุณสมบัติและชนิดของไฮโดรคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบ คือ น้ำมันดิบฐานพาราฟิน น้ำมันดิบฐานแอสฟัลท์ และ น้ำมันดิบฐานผสม น้ำมันดิบทั้ง 3 ประเภท เมื่อนำไปกลั่น จะให้ผลิตภัณฑ์น้ำมันในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
ส่วนก๊าซธรรมชาติเป็นปิโตรเลียมที่อยู่ในรูปของ ก๊าซ ณ อุณหภูมิ และความกดดันที่ผิวโลก ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก อาจมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 95 ส่วนที่เหลือ ได้แก่ ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ บางครั้งจะพบไฮโดรเจนซัลไฟด์ปะปนอยู่ด้วย
ไฮโดรคาร์บอนในก๊าซธรรมชาติ จัดอยู่ในอนุกรมพาราฟิน มีสภาพอิ่มตัวในบรรยากาศ และไม่เปลี่ยนแปลงทางเคมีใดๆ ในสภาวะปกติ ไฮโดรคาร์บอนในกลุ่มนี้ มีเทน มีน้ำหนักเบาที่สุด และจุดเดือดต่ำที่สุด มีอยู่ในก๊าซธรรมชาติมากที่สุด ถึงร้อยละ 70 ขี้นไป
ก๊าซธรรมชาติ ในที่นี้ หมายรวมถึง ก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนในกลุ่มเดียวกันกับก๊าซธรรมชาติ แต่มีปริมาณคาร์บอนอะตอมในโครงสร้างโมเลกุลมากกว่าก๊าซธรรมชาติ เมื่ออยู่ในแหล่งกักเก็บใต้ผิวโลกซึ่งมีอุณหภูมิและความดันสูงจะมีสภาพเป็นก๊าซ และจะกลายสภาพเป็นของเหลวเมื่อขึ้นมาสู่พื้นผิว จึงเรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว